วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตำแหน่งและเครื่องดนตรีอย่างเป็นทางการ

คราวนี้ก็มาแจ้งตำแหน่งทางการเล่นอย่างเป็นทางการของทางวงแชมเบอร์ของเราเบื้องต้นนะครับ

ไวโอลิน - น้องพรีม
ไวโอลิน - พี่กุล
ไวโอลิน+เปียโน - เจมส์
ไวโอลิน+คอนดักต์ - พี่แบงค์
ไวโอลิน - นนท์
ไวโอลิน - อุค**
ไวโอลิน - ต้อม ( กาญจน์ฯ)**
ไวโอลิน - เอ็ม**
วิโอลา - เบลล์
วิโอลา - โอลีฟ
เชลโล - ตั้ม
เชลโล - พี่อาร์ต
ทรัมเปต - โฮป

สำหรับไวโอลิน ยังไม่แบ่งไลน์ 1/2 นะ ...

นี่คือตัวละครหลักๆทั้งหมดของฮานานีม ณ ปัจจุบัน
ก็ถือว่าเยอะในระดับแชมเบอร์ละนะเนี่ย

เวลาซ้อมวงเริ่มตั้งแต่ 15.30-17.00 ของวันเสาร์ทุกเสาร์
ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป
แต่ก่อนจะถึงช่วงนั้น จะขอซอยย่อยเวลาเรียนเดี่ยวนะครับ

วันศุกร์ตอนเย็น หลังแคร์ วิโอลา ( ถ้าเปิดเทอมแล้วค่อยว่ากันใหม่)
วันเสาร์ 12.00 เชลโล ( พี่อาร์ต )
วันเสาร์ 13.00 เชลโล ( ตั้ม )
วันเสาร์ 15.00 ไวโอลิน ( พี่กุล )
วันเสาร์ 16.00 วิโอลา (เบลล์+โอลีฟ)
วันสาร์ 17.00 ไวโอลิน (พรีม)**

ส่วนวันอาทิตย์ ในภายภาคหน้า ให้จบงานคัดนักร้องก่อน เราจะซ้อมวันอาทิตย์อีก 1 วัน
ซึ่งงานคัดนักร้องเราจะให้ จบประมาณสิ้นเดือนมิถุนายนอะ ดังนั้น กรกฎาคม-เรื่อยไป เราก็จะซ้อมกันเวลา 15.00 - 16.30 ด้วย

เดี๋ยวเรามาทำ Product เพื่อจะขายของหาเงินเข้าวงกันเด็กๆ เย้ๆ

** ต่อไปเราจะเก็บตังซื้อ ดับเบิ้ลเบส กะหาคนมาเล่นดับเบิ้ลเบสกัน เย้ๆ ตัวละ 4 หมื่น *0*

ใกล้ความจริงแล้วๆๆๆ เย้ๆ ๆ ๆ ๆ ตั้งแต่ กรกฏา ยัน ตุลา น่าจะขึ้นค่ายได้อย่างไม่มีปัญหาละอะ

อลังการละไง ปีนี้ ... เดี๋ยวบล็อกต่อไปเรามาคุยเรื่องชุดกัน เสื้อผ้า จะเอาอย่างไร COSPLAY โมสาร์ท เลยมะ เอิ๊กๆๆๆๆๆ

อ้อ ยินดีที่ได้รู้จัก น้องบูมด้วย ผู้สนใจในสัปดาห์ที่ผ่านมาจ่ะ ( ดันเล่นไวโอลินได้อีก จับยัดเข้าวงซะเลย เอิ๊กๆๆ) แล้วน้องอุก ก็เตรียมตัวเตรียมใจไว้นาจ๊ะ จะให้หนูพรีมเป็นอาจารย์สอนประจำ พี่จะเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์ละ (สอนมาเยอะละ ให้คนอื่นสอนมั่ง จะได้ช่วยๆกันฝึก เอิ๊กๆๆ )

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ที่มาของเครื่องสายตะวันตก

ที่มาของไวโอลิน วิโอล่า เชลโล่ ดับเบิลเบส

ไหนๆ ก็ทำบล็อกของวงเกี่ยวกับเครื่องสายก็ขอเล่าเรื่องราวที่มาของเครื่องสายยุโรปหน่อยก็แล้วกันเนอะ
เพราะการเขียนถึงเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของไวโอลินอาจจะเขียนได้เป็นร้อยๆ พันๆ หน้ากระดาษเลยทีเดียว มีนักเขียนมากมายที่เขียวเรื่องราวประวัติศาสตร์ของไวโอลิน เรื่องราวที่มีสเน่ห์เเละประวัติอันยาวนานของมัน รวมถึงมุมมองและทัศนะที่แตกต่างกันมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่ยืนยันได้อย่างแน่นอน

ในอดีตที่ มนุษย์ยังล่าสัตว์เป็นอาหารอยู่นั้น มนุษย์พบว่าการยิงธนูทำให้เกิดเสียงขึ้น นั่นเป็นเพราะการสั่นสะเทือนของสายคันธนู ข้อเท็จจริงที่ว่าการทำให้สายเกิดการสั่นสะเทือนด้วยการใช้คันชักลากผ่านสาย ถูกค้นพบหลังจากนั้นอีกนาน เเต่เกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นไม่ปรากฏชัดเจน แต่เครื่องดนตรีที่ใช้คันชักนั้นอาจจะมีการเล่นกันในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ และที่อื่นๆ มาก่อนแล้ว ในช่วงต้นศตวรรษที่ 8 และในยุโรปในราวๆ ช่วงศตวรรษที่ 9 คำว่า ' Fiddle ' นอกจากจะเป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีที่ใช้คันชักทุกๆ ชนิดแล้ว คำๆ นี้มักจะหมายความถึงเครื่องดนตรีตั้งแต่ยุคกลาง (Middle Ages) อีกด้วย ซึ่งมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น

Lira da Braccio ( อ่านว่า ลีร่า ดา บรัชโช่ )
เครื่อง สายในตระกูล Fiddle ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชนิดหนึ่งนั่นคือ Lira da Braccio โดยปกติจะมี 5 สายหรือมากกว่า และยังมีสาย 'Bourdon' อีก 2 สายที่เรียกกันว่า Off-board drones ซึ่งสายเหล่านี้จะไม่ดีดหรือสี แต่จะสั่นสะเทือนไปตามการเล่นของคุณ ซอ Lira da Braccio จะเล่นโดย 'วางบนแขน' ตามความหมายของคำว่า 'Braccio' ซึ่งในภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึงแขน

Lira da Braccio ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในต้นกำเนิดของไวโอลินเเละวิโอล่า แต่เดิมนั้นเครื่องดนตรีเหล่านี้เล่นโดยวางบนแขนเช่นเดียวกัน และเป็นเรื่องบังเอิญที่คำว่าวิโอล่าในภาษาเยอรมันคือ Bratsche มีที่มาจาก Braccio ของอิตาลี

Viola da Gamba ( วิโอล่า ดา กัมบ้า )
ในช่วงปลายๆศตวรรษที่ 15 ซอวิโอล Viol หรือ Viola da Gamba ตัวแรกได้ถูกสร้างขึ้น ซอ Lira da BraccioLira จะตรงข้ามกับซอ Viol ซึ่งจะเล่นโดยให้คอของมันอยู่ในแนวตั้ง ซอ Viol ขนาดเล็กจะใช้ส่วนปลาย (Tail) ของมันวางที่เข่าของผู้เล่น ส่วนซอ Viol ขนาดใหญ่จะวางอยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างเช่นเดียวกับเชลโล (คำว่า ' Gamba ' ในภาษาอิตาเลี่ยนแปลว่าขา)

ความแตกต่างของ Viola da Gamba กับ Lira da Braccio
ไม่เพียงแต่ การจับ Viola da Gamba จะต่างจาก Lira da Braccio เท่านั้น แต่หน้าตายังต่างกันเท่านั้นอีกด้วย เช่น Viola da Gamba ช่วงไหล่จะลาดลง มีสายมากกว่า และตั้งเสียงต่างกัน นอกจากนั้นยังมีเฟรท (Fret) เเบบเดียวกับกีตาร์ เส้นโลหะบางๆ ที่ฝังในแนวขวางกับส่วนคอช่วยให้เล่นได้เสียงไม่เพี้ยน เฟรทจะวางในตำแหน่งที่ถูกต้องซึ่งจะให้เสียงที่ถูกต้องมากกว่าตำแหน่งกดของ นิ้ว สำหรับ Viola da Gamba จะใช้สายเอ็นซึ่งจะพันอยู่บริเวณคอ

ราย ละเอียดอื่นๆ ที่แตกต่างของ Viola da Gamba นอกจากเสียงที่บอบบางและนุ่มนวลก็คือ ส่วนใหญ่แล้วจะเล่นโดยนักดนตรีสมัครเล่นที่มีฐานะดี ซึ่งตรงกันข้ามกับ Lira da Braccio และไวโอลิน ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักดนตรีพื้นบ้านและนักดนตรีเต้นรำที่มักจะหารายได้ จากการแสดงเลี้ยงชีพ เมื่อวางไวโอลินไว้บนแขนก็สามารถเต้นรำและเดินไปมาตามเพลงที่เล่นได้ นอกจากนั้นไวโอลินยังให้เสียงที่ดังกว่า

Viola da Gamba จึงมีประโยชน์ที่จะใช้กับงานเลี้ยงสังสรรค์ได้ดีกว่า เมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ภาพของ Viola da Gamba ก็ค่อยๆ หายไปจากความทรงจำของผู้คน ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเล่นกันมากนัก

เชลโลและดับเบิ้ลเบส
จริงๆ แล้วเชลโลเป็นเครื่องดนตรีในตระกูล Lira da Braccio แต่เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่มาก เวลาเล่นคอของมันจะอยู่ในแนวตั้งและวางอยู่ระหว่างขาของนักดนตรี ส่วนดับเบิ้ลเบสมีความเกี่ยวข้องกับทั้ง Lira da Braccio กับ Viola da Gamba

Andrea Amati และ Antonio Stradivari
ไวโอลิน ตัวแรกถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 หนึ่งในนั้นเป็นผลงานของ Andrea Amati ซึ่งยังตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงปี 1700 Antonio Stradivari สร้างไวโอลินที่มีความป่องเพียงเล็กน้อย ให้เสียงที่มีพลังกว่า แต่ชื่อเสียงของเขายังไม่เป็นที่รู้จักในทันที ผู้คนยังคุ้นเคยกับไอลินที่มีเสียงนุ่มนวลและมีความป่องมากๆ อยู่ แต่หลังจากนั้นไม่นานความต้องการไวโอลินที่มีน้ำเสียงที่ทรงพลังได้เพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่ดนตรีต้องแสดงในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

คันชัก
ใน ช่วงเดียวกันนั้นเอง คันชักก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน มีการดัดด้ามคันชักให้มีความโค้งจากเดิมที่เป็นแนวตรง ซึ่งทำให้นักดนตรีสามารถเพิ่มพลังในการเล่นได้มากขึ้น

สายไวโอลิน
สาย ไวโอลินในยุคแรกๆ เป็นสายเอ็นเเบบเรียบๆ ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 มีการค้นพบว่าสามารถทำให้สายบางลงได้โดยการพันรอบสาย สายที่บางลงและมีการพันสายจะทำให้เล่นได้ง่ายขึ้น สายโลหะสาย E เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่เมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว ส่วนสายโลหะสายอื่นๆ เริ่มเป็นที่นิยมหลังจากนั้นประมาณ 20 ปี สายสังเคราะห์ (Synthetic-core string) เริ่มเข้ามาในช่วงทศวรรษที่ 1950

เครื่องสายในตระกูลไวโอลิน
เป็นที่ทราบกันดีว่าเชลโลเเละดับ เบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรี 2 ชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับไวโอลิน แต่แน่นอนว่ายังมีเครื่องดนตรีอื่นๆ หลายชิ้นที่เกี่ยวข้องทั้งเก่าและใหม่ ตั้งแต่ Rabab จนถึง Kemenche และ Hardanger fele ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดใหม่ที่สุดที่เกี่ยวข้องก็คือไวโอลินไฟฟ้า

ไวโอลิน และวิโอล่าเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสาย (String insrument) และยังถูกเรียกว่า 'เครื่องดนตรีที่ใช้คันชัก' (Bow instrument) ซึ่งทำให้มันแตกต่างจากเครื่องดนตรีประเภท 'ดีด' เช่น กีตาร์ แบนโจ หรือฮาร์พ
เชลโลในยุคแรกๆ นั้นไม่ค่อยแตกต่างจากไวโอลินและวิโอล่ามากนัก ความแตกต่างหลักๆ ก็คือขนาดที่ค่อนข้างใหญ่กว่านั่นเอง สายทั้ง 4 ของเชลโลตั้งเสียงเหมือนกับวิโอล่า แต่ต่ำกว่า 1 ขั้นคู่เสียง (8 คีย์สีขาวของเปียโน) เชลโลยังคงใช้ชื่อเดิมของมันคือ Violoncello ซึ่งแปลว่าเบสขนาดเล็ก ในช่วงปี ค.ศ. 1700 Antonio Stardivari ( เจ้าของ Red Violin ) ได้สร้างเชลโลซึ่งได้กลายเป็นแบบมาตรฐานที่ยังคงใช้กันอยู่ทุกจวบจนวันนี้

ดับเบิ้ลเบสจะดูคล้ายไวโอลินขนาดใหญ่ แต่จริงๆ แล้วมีข้อแตกต่างกันหลายอย่างทีเดียว และไม่ใช่ญาติที่ใกล้ชิดกับไวโอลินนัก ดับเบิ้ลเบสจะมีช่วงไหล่ที่ลาดลงซึ่งแตกต่างจากไวโอลิน และเเผ่นหลังที่มักจะเเบนราบแม้ว่าจะมีแบบที่ด้านหลังป่องออกก็ตาม การตั้งเสียงก็ต่างกันเช่นเดียวกัน และตั้งเสียงจากเสียงต่ำไปหาสูงคือ E-A-D-G เหมือนกับกีตาร์เบสไฟฟ้า ความแตกต่างประการอื่นก็คือ ดับเบิ้ลเบสมีอุปกรณ์ที่ใช้ตั้งสายมากกว่าที่จะใช้ลูกบิด ดับเบิ้ลเบสยังถูกใช้ในดนตรีที่นอกเหนือจากดนตรีคลาสสิกอีกด้วย ในกรณีนี้จะใช้การดีดแทนการใช้คันชัก ซึ่งคล้ายคลึงกับกีตาร์เบสไฟฟ้าอีกเช่นกัน

-*- มาถึงตรงนี้ ก็รู้สึกมันจะวิชาการมากไปซะละเรา -*- พูดไปพูดมา ก็อยากได้ Stradivari สักตัวเนอะ ขอตัว ก็อปปี้ก็ยังดี ราคาตัวก็อปก็ราวๆ 150,000 ละ เฮ้อ ..... ไว้คราวหลังจะหาเรื่องมันๆ เกี่ยวกับเพลงคลาสสิคมาฝาก ..

อัลบั้มแรกของวง HananYm the Church Chamber


อัลบั้ม HananYm the Church Chamber
ขอย้อนอดีต .... อัลบั้มเพลงอัลบั้มแรกของ ฮานานีม
ไม่รู้ว่าน้องๆยังจำกันได้รึเปล่า ... >>> --- <<< อัลบั้มนี้ทำขายตอนครบรอบสมุทรสาคร ปี 2006 มั้งรู้สึก หาเงินซื้อเครื่องดนตรีใหม่ จนตอนนี้ที่โบสถ์ มีไวโอลินยั้วเยี้ยไปหมด ( เครื่องดนตรีหรือหนอนเนี่ย ) จะบอกว่า แผ่นก็อปปี้ที่เก็บไว้หายไปไหนละก้อไม่รุ้ ( คงหายตอนย้ายบ้านปีที่แล้ว ) พอดีลื้อคอมไปๆมาๆ เจอรูปหน้าปกในไฟล์ รูปพอดี เลยนึกขึ้นได้ ในอัลบั้มนี้ก็มีเพลง Canon in D ... เพลงพระเจ้าแบบบรรเลง แล้วก็หลายอย่างเลย ลืมไปละ <-ขนาดอัลบั้มประวัติศาสตร์ขนาดนี้ยังลืม แถมทำหายอีก -*-> ลื้อมาจากลิ้นชักความทรงจำ เอามา รีวิวให้ดู เผื่อนึกได้ รู้สึกตอนนั้น ใส่สูทขาวเล่นโชว์ทั้งทีมเลย จำได้มะ เออ ตอนนั้น ลืมแนะนำไปว่า มีน้องอีก 2 คนที่เล่นเครื่องเป่า
โอม -- จำไม่ได้ว่ามายังไง รู้สึกว่าจะเป็นเพื่อนเจมส์อีกคนนะ แล้วก็ แอน เพื่อนเราเอง 2 คนนี้เล่นคลาริเน็ต .. มาร่วมวงเราได้อยู่พักนึงก็แยกย้ายกันไป ตอนนี้ได้ข่าวว่า โอมเรียน ดุริยางค์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วน แอนน่าจะเรียนที่ราชภัฏบ้านสมเด็จ สาขาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ (อันนี้เจ้าตัวเคลมมา 555+) (หน้าเหมือนพี่น้องกันเลย2 คนนี้)

เป็นอีก 2 คนที่ได้เข้ามาร่วมงานดนตรีกับเราแบบเต็มรูปแบบ ก่อนที่จะแยกย้ายไปทำหน้าที่อื่น -*- งานมันรัดตัวเนอะ เอิ๊ก

เห็นว่าเรามีนักดนตรีดีๆ มีความสามารถแวะเวียนมาเยอะเลยทีเดียว แต่ปัญหาก็คือ เค้าหายไปไหนกันหมดหว่า -*- สงสัยต้องพัฒนางานอภิบาลหน่วยให้ดีมากกว่านี้เสียแล้ว แต่ก็ต้องขอความร่วมมือจากน้องๆในทีมด้วยนะจ๊ะ ... ขาดพวกเราไปพี่เองก็แย่เลย เอิ๊บ กลายเป็น คอนดักเตอร์ไม่มีวงเล่น -*- อนาถยิ่งกว่ากินข้าวไม่มีกับข้าวอีกนา T^T

อีกไม่นาน ทางทีมนมัสการจะออก Single อัลบั้มเพลงที่มี พี่กงใจ เป็นผู้แต่ง และน้องเจมส์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานกับเล่นเปียโน -- ส่วนพี่จะเล่นเชลโล่ ในเพลงนั้นด้วย รอฟังละกันเน่อ ( คิดว่าบางคนแถวๆนี้คงเคยฟังละแหละ แถมไปเป็นนักร้องนำให้เค้าเฉยเลย -*- 555+)

ว่าด้วยเรื่องความอดทนของการเรียนดนตรี

ว่าด้วยเรื่องความอดทนของการเรียนดนตรี

ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของเราเป็นอย่างมาก อย่างในพระคัมภีร์ โรม บทที่ 5 : 3
ก็ได้เขียนไว้ว่า "ยิ่งกว่านั้นเรา{หรือให้เรา}ชื่นชมยินดีในความทุกข์ยากของเราด้วยเพราะเรารู้ว่าความทุกข์ยากนั้นทำให้เกิดความอดทน.." พระเจ้ายังได้สอนเราในเรื่องความอดทนไว้มากมายผ่านพระคำของพระองค์

เช่นกัน ในการทำทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัว เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ไม่ว่าสิ่งต่างๆเล็กๆน้อยๆรอบตัว เราก็ใช้ความอดทน อย่างเช่นเวลาเราไปเข้าร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น คนรอคิวจ่ายเงินมาก เราก็ต้องรอคอยที่จะจ่ายเงิน เพื่อให้ได้มาซึ่งของที่เราจะซื้อ นี่ก็เป็นเรื่องเริ่มต้นที่พวกเราต้องเจอทุกวัน ไปข้างนอก ก็ต้องรอรถเมล์ ใช้ความอดทนอีกนั่นแหละ จะกินข้าวที่ร้านก็ต้องอดทนรอ พ่อครัวทำอาหารเสร็จ พร้อมเสิร์ฟอีก จะเห็นว่าจริงๆ เราใช้ความอดทนอดกลั้นทุกวัน แม้ว่าบางเรื่องจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่เราก็ได้เริ่มฝึกความอดทนมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

การเรียนดนตรีก็เช่นกัน จากที่กระผมได้สอนดนตรีที่โรงเรียนดนตรีสานเสียง ในเครือบริษัท เจ. คีตา ซึ่งโรงเรียนดนตรีแห่งนี้ถือได้ว่าดีที่สุดในจังหวัดสมุทรสาครเลยก็ว่าได้ โดยมี พี่ตั๊ก นักเปียโนฝีมือเยี่ยม เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาเปียโน และเธอก็ไปต่อปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยดนตรีที่ประเทศออสเตรีย จากนั้นเธอก็กลับมาเมืองไทยรวบรวมสมัครพรรคพวกจาก วิทยาลัยดนตรีมหิดลมาเปิดโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นมา ซึ่ง ณ ที่แห่งนี้เอง กระผมก็ได้เข้ามาร่วมงานกับพี่ตั๊กและได้เดินทางมาสู่การสอนวิชา เครื่องสายแบบเต็มตัวก็ว่าได้ ( ไว้วันหลังจะเล่าเหตุการณ์ตอนที่มาเล่นดนตรีกับพี่ตั๊กได้ยังไง )

กระผมสอนดนตรีที่นี่ตั้งแต่เช้ายันค่ำ ได้จับไวโอลินมาแล้วหลายสิบตัว และก็ได้เจอเด็กที่ต้องสอนมาแล้วหลายสิบคน ซึ่งบ้างก็ยังคงศึกษาต่อ บ้างก็เลิกเรียนไปแล้วก็มี บ้างได้ดิบได้ดี ไปเรียนต่อวิทยาลัยดนตรีมหิดลแล้วก็มี แต่สิ่งที่สำคัญของการทำให้เด็กสามารถเรียนรู้การเล่นดนตรีที่ดีนั้นคืออะไร?

การเรียนดนตรีจำต้องอาศัยความอดทนมาก เพราะว่าเป็นการเรียนแบบบูรณาการมากๆๆๆๆๆ ปกติเวลาเราเรียนในห้องเรียนก็มีแค่อาจารย์พูดๆๆๆๆๆๆ แล้วเราก็ฟัง จด พยายามเข้าใจ แต่การเรียนดนตรีนั้นใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าที่เราจะทำได้ ไม่ว่าจะเป็น

1.ประสาทหู ใช้ฟังเสียงของตัวโน้ตว่าเพี้ยนหรือไม่อย่างไร ไม่เพียงเท่าันั้น ต้องพยายามฟังอาจารย์และพยายามเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์แนะนำแล้วปฏิบัติตาม อีกทั้งยังต้องคอยฟังเจ้า Metronome หรือเครื่องจับจังหวะที่ดัง ติ๊ก ต่อก ตี๊ก ต่อก เหมือนเครื่องสะกดจิตให้เล่นไม่หลุดจังหวะอีกด้วย

2.ประสาทสัมผัส ประสาทสัมผัสที่ว่านี้ก็คือ การใช้นิ้วมือ ในการกดไปยังสายต่างๆ และยังต้องใช้ในการควบคุมมือซ้ายมือขวาให้ถูกต้อง เพราะเวลาเล่นไวโอลิน การจับตัวเครื่อง ท่ายืน การจับคันชักถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ห้ามมองข้ามเด็ดขาด มีนักเรียนหลายคนที่เรียนจากที่อื่นมาแบบผิดๆ เพราะเดี๋ยวนี้ โรงเรียนดนตรีหลายแห่งหาอาจารย์สอนแบบว่า แค่่พอสีเป็นเพลงได้มาสอนนักเรียน ไม่ใช่คนที่เรียนโดยตรง ทำให้นักเรียนที่มาเรียนนั้นอาจจะไม่ได้รับการสอนมาอย่างถูกต้องที่สุด และก่อให้เกิดผลเสียตามมานั่นคือ Posture หรือท่าทางในการเล่นนั้นไม่ถูกต้อง และภายภาคหน้าเมื่อเด็กชินกับการเล่นแบบนั้นก็จะแก้ยาก และกระผมก็แสนจะเหนื่อยในการแก้ท่าทางเด็กเหล่านี้มากๆๆๆๆๆ ผมยินดีที่จะสอนเด็กที่ไม่รู้อะไรเลยมากกว่าจะไปต่อยอดจากอาจารย์คนอื่น เพราะผมไม่รู้ว่าอาจารย์ท่านนั้นเรียนด้านไวโอลินมาโดยตรงหรือเปล่า หรือว่าสอนไวโอลินมาอย่างเข้าใจดีหรือเปล่า และเมื่อผมรับเด็กคนนั้นมาสอนแล้ว ก็จะเกิดปัญหาที่แก้ยาก แล้วเด็กก็จะเครียดๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ว่าทำไมจับแบบนี้ไม่ได้ ผิดอีกแล้ว เพราะเด็กเขาชินกับการจับแบบนั้นเสียแล้วนั่นเอง โดยส่วนตัวเรียนเรื่องการจัดท่าทางแบบเยอรมันมา ( ตอนเรียนดนตรี มีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาจารย์เป็นคนเยอรมันมาเทรนให้แบบหนักมาก ทั้งชั่วโมง เอาแต่จับโบว์ สีสายเปล่า ทั้งๆที่เราเล่นเพลงไปได้ถึงไหนต่อไหนละ -*- แต่ก็ต้องขอบคุณอาจารย์ท่านมากเพราะเราก็ได้พื้นฐานที่ถูกต้องจริงๆติดตัว รู้สึกว่าแกเป็น Concert Master ของวง Berlin Philharmonic ด้วยรึเปล่าไม่แน่ใจ ) แล้วเด็กบางคนก็เรียนมาแบบผิดจริงๆ จนไม่แก้ไม่ได้แล้ว ต่อไปจะเล่นได้ยากเพราะยิ่งเพลงที่เล่นยากๆ การจับโบว์เนี่ยแหละ จะชี้เลยว่าจะเล่นได้ดีหรือไม่

3.ประสาทตา ตาที่ว่าคือการมองโน้ต Sight Reading ก็เป็นสิ่งจำเป็นมากในการอ่านตัวโน้ตเพราะว่าถ้าหาก เราอ่านโน้ตไม่ได้ อ่านโน้ตไม่คล่องก็จะเกิดปัญ
หาตามมา ก็คือการฝึกซ้อมที่บ้านก็จะติดๆขัดๆ เพราะอ่านโน้ตไม่คล่อง พออ่านโน้ตไม่คล่อง เล่นไม่ได้ บางทีก็พาลเอาไม่อยากซ้อมเสียดื้อๆ ก็มี อีกอย่าง ก็ต้องคอยดูว่า เวลาเราใช้คันชักสีที่ตัวไวโอลินน่ะ อยู่ในช่องระหว่างตัวหย่อง( Bridge )กับสะพานนิ้ว ( Finger Board )หรือเปล่าด้วย

4.วินัยและความอดทน ถือเป็นประสาทพิเศษเพราะว่า ถ้าเราขาดวินัยในการซ้อมแล้วล่ะก็ การจะเล่นได้ดีขึ้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว ความอดทนต่อสิ่งที่เราทำนั้นก็จำเป็น เด็กบางคนเบื่อเพลงที่ตัวเองเล่นมากแต่เจ้าตัวยังเล่นไม่ได้ดี ควบคุมเสียงไม่ได้ ถ้าบางทีปล่อยทิ้งไว้แล้วเปลี่ยนเพลงใหม่ไป ปัญหาเดิมๆก็ยังคงตามมาอยู่ดี ดังนั้นยังไงๆ ก็ต้องพยายามซ้อมให้ตนเองสามารถบรรเลงเพลงนั้นออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

บางคนอาจถามว่า อ้าว ทำไมเล่นดนตรีดูเหมือน มันไม่สนุกเลย มีแต่เรื่องนู่นนี่ ข้อบังคับสารพั
ดเลย เล่นดนตรี น่าจะสนุกนี่นา เพราะเราใช้คำว่า "เล่น" คำว่าเล่นก็มักจะใช้กับเรื่องที่สนุกๆนี่นา อย่าง "เล่น"กีฬา "เล่น"กับเพื่อน "เล่น"เกมส์ ฯลฯ แต่สำหรับการเล่นนั้น ถ้าเราสังเกตดูดีๆแล้ว ถ้าเราจะเล่นให้สนุกได้ เราก็จำต้องมี ทักษะ มาประกอบด้วย ถ้าเรา"เล่น"บาสเกตบอล แต่เราไม่มีทักษะเลย แพ้ตลอด ก็ไม่ค่อยสนุกเท่าไร แถมเจ็บใจอีกต่างหาก ถ้าเรา"เล่น"เกมส์ แต่แพ้ตลอด ตามเรื่องไม่ทัน คนเล่นก็เหนื่อยหน่าย แพ้อีกแล้วๆๆ จะเห็นว่า ถ้าอยากเล่นให้ดี ให้สนุกก็ต้องมี "ทักษะ" เนี่ยแหละมาช่วย แล้วกว่าจะได้ ทักษะ มาครอบครองก็ต้องผ่านการซ้อม ๆ ๆ ๆ ๆ ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อข้างต้นที่กล่าวไปแล้ว

โดยส่วนตัวกระผมนั้น ก
ว่าจะได้เจ้าทักษะมาครอบครองก็ใช้เวลาร่วม 4-5 ปีทีเดียว กว่าจะเข้าใจว่า ต้องทำอย่างไร นับตั้งแต่วันที่เริ่มจับคันชักและตัวซอ(ฝรั่ง) จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้เลิกเล่น ยังมีการซ้อมและการหมั่นฟังเพลงคลาสสิคอยู่ตลอด อีกทั้งจากประสบการณ์การสอน ถ้าเด็กคนไหน ทำได้อย่างที่บอกไป ก็จะเล่นได้ดีและสนุกไปกับการเล่นทุกคน ยิ่งเล่นยิ่งสนุก นักเรียนสนุก อาจารย์ก็สนุกไปด้วย ยังจำได้ตอนสมัยเรียนดนตรี อาจารย์ก็ชอบบอกว่า "ทำไมเวลาสอนเรา เวลามันเดินไวชะมัดเลย" แสดงว่า อาจารย์เค้าก็สนุกเวลาสอนเรา นักเรียนก็จะรักการเรียนไปด้วยและที่สำคัญ ไม่มีใครที่เก่งมาตั้งแต่เกิดต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนเท่านั้นแหละถึงจะได้มาซึ่ง "ทักษะ"

ตอนสอนดนตรีที่นั่น ก็อยากบอกเล
ยครับว่า เหนื่อยมาก เพราะเราไม่ใช่แค่สอน แต่เหมือนเป็นพี่เลี้ยงเด็กไปด้วย โดยส่วนตัวไม่ใช่คนรังเกียจเด็กนะครับ แต่เด็กทุกคนเค้ามีเอกลักษณ์ของตัวเอง และเราก็ต้องพยายามเข้าใจเขาให้ได้เพื่อที่เขาจะได้เรียนดนตรีอย่างมีความสุขนั่นเองซึ่งการพยายามเข้าใจเขาเนี่ยล่ะครับที่แสนจะเหนื่อย ไม่เหมือนเวลาเราสอนผู้ใหญ่ เราสอนเชิงทฤษฎีได้ สอนเป็นตรรกะได้ แต่ถ้าสอนเด็กเล็กๆ บางคนเขาจะเข้าใจยาก แต่เราก็ต้องพยายามอธิบายให้เขาเข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับมาจากการสอนดนตรีให้เด็ก ( ที่ผมสอนมีตั้งแต่ อยู่ ป.1 ไปยัน ผู้ใหญ่เลย - 30 กว่าก็เคยสอนมาแล้ว -*-) เด็กทุกคนมีศักยภาพและความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเขา เพียงเราเปิดโอกาสให้พวกเขาได้บอกความเป็นตัวเอง ให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งรอบตัวที่อาจจะเป็นความสามารถของเขาได้ ไม่ว่าจะด้านไหนๆ ก็พัฒนาพวกเขาได้

ไว้คราวหลังจะมาเล่าเรื่องที่ไปสอนดนตรีที่นี่ใหม่ คราวนี้ดูวิชาการไปหน่อย แต่คราวหน้ามาอ่านอะไรฮาๆ มั่งดีกว่าเนอะ อิอิ

ปล. อย่าลืม ซ้อม ๆ ๆ ๆ ๆ และก็ ซ้อมล่ะ น้องๆ เอ๋ย

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปฐมบทแห่ง HananYm

ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

สวัสดี เพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ และทุกคนที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนบล็อกของเรา ชาว
HananYm

สำหรับเพจส่วนแรกนี้ ก็คงต้องขอแนะนำตัวเองอย่างเป็นทางการครับ

HananYm อ่านว่า "ฮา-นา-นีม" เดิมทีชื่อวง มาจาก
ภาษาเกาหลี ว่า
하나님 ซึ่งมีความหมายว่า "พระเจ้า"

คือตอนแรกตั้งชื่อ ยาวมากว่า "하나님께서 할거야!"
อ่านว่า "ฮานานีม เกซ่อ ฮัลกอย่า" ซึ่งหมายถึง "ทำทุกอย่างเพื่อพระเจ้า" คุยกันไปๆมาๆ สรุปว่า เอ่อ ยาวไปแฮะ ทำไงดี ทุกคนก็สรุปสั้นว่า ฮานานีม ก็พอ สั้น ฟังดูเพราะด้วย เพราะฟังพ้องๆ กับคำว่า Hymn (ฮีม)
ที่แปลว่า เพลงสรรเสริญ พระเจ้า ดังนั้น ด้วยวิสาสะ ก็เลย เปลี่ยน ตัว i ใน Hananim เป็น
HananYm ซะเลย ถ้าถามว่าทำไมต้องภาษาเกาหลี ก็อยากบอกตรงๆว่า ไม่รู้ดิ นึกขึ้นได้ตอนนั้น ก็เลยเอา 555+

ทีมเรา เดิมที ผู้ก่อตั้งคือ
พี่บ๊วย ซึ่งเป็น ผู้บัญชาการทีมสถาบันคนก่อนอยู่นั่นเอง เดิมทีนั้น พี่บ๊วย ตั้งแต่ประมาณปลายๆ ปี 2004 ซึ่งในตอนนั้น กระผม และพี่บ๊วย ได้เรียนไวโอลินมาแล้วประมาณ ปีกว่าๆ ได้แล้วมั้ง ด้วยความที่ตอนนั้นคลั่งไวโอลินมาก เพราะเคยฟังคอนเสิร์ตที่น้องคนนึงเล่นเมื่อนานมาแล้ว มันช่างเพราะจับใจเสียเหลือเกิน อยากเป็นหนึ่งในนั้นที่คอยขับกล่อมเสียงดนตรีบรรเลงแบบนั้นบ้าง เลยจัดการถือวิสาสะ ( อีกแล้ว ) ไปซื้อไวโอลินในห้างฟิวเจอร์รังสิต ด้วยราคาเครื่องละ 3000 กว่าบาท ยี่ห้อ Pearl River ซึ่งตอนนั้น เราก็ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเสียงไวโอลินอะไรเลย คิดว่า เครื่องไหนๆ ก็คงเหมือนกันมั้ง ยิ่งแพงก็คงยิ่งดี ซื้อเสร็จ ก็ไปซื้อตำราเรียนด้วยตัวเอง มาลองหัดเล่นก่อน ( ร้อนวิชา 55+ ) จากนั้นก็เลยเอามาเล่น ตอนนั้น พอพี่บ๊วย เค้ารู้ว่ากระผมกำลังหัดไวโอลินอยู่ เธอก็ไปปรึกษากับทางทีมออเคสตร้ากรุงเทพ โดยเธอรู้จักกับ พี่เชฐ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมเครื่องสายสากลที่นั่นแล้วเธอก็คว้า ไวโอลินมา 2 ตัว อย่างหรู ดูดี มาให้กระผมดู (โอ๊ส มันช่างไพเราะกว่าตัวของข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าแอบอิจฉามาตลอด 555+) โดยมี พี่ปัท เป็นคนครอบครองไวโอลินอีกตัวที่เธอแบกกลับมาด้วย
(ภายหลัง ไวโอลินทั้ง 2 เครื่องนั้น ก็ตกมาอยู่ในความครอบครองของกระผมไปโดยปริยาย 555+ )ตอนนั้นทีมของมีแค่ ข้าพเจ้า พี่บ๊วย และพี่ปัท เพียง 3 คน แต่อย่างว่า มันยังไม่เป็นทีมด้วยซ้ำ เพราะว่า ยังไม่มีการเริ่มต้นอะไรเรื่องวงเลย ก็แค่คนอยากเล่นดนตรี 3 คน ก็เท่านั้นเอง ...

เรื่องของเรื่อง มันเริ่มต้นที่กระผมเริ่มเรียนไวโอลินที่โรงเรียนใกล้ๆบ้าน โดยมีอาจารย์จากโรงเรียนเก่าสมัยประถมมาสอนที่นี่ ท่านคือ ครูสด แกเป็นชายที่โปรด้านไวโอลินและเปียโนมาก แกเล่นสไตล์ ป๊อป ได้น่าประทับใจยิ่งยวดซึ่งที่โรงเรียนนี้เอง ข้าพเจ้าได้พบกับ
หนูพรีม เด็กสาว แสนสวย (เหรอ -*- ) ที่เรียนไวโอลินมาก่อนหน้าข้าพเจ้า เธออยู่ ป. 6 เอง แต่น่าตกใจกว่านั้นคือ เธอตัวโตเท่ากระผมเลยสิเนี่ย เพราะวันนั้นเธอเรียนต่อจากกระผมนั่นเอง เราก็ได้เริ่มคุยกันและ พบว่า เธอก็ค่อนข้างเล่นเก่งมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก (ในตอนนั้น)
ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจ ชวนเธอมาที่คริสตจักรของเรานั่นเอง ( เหอ เหอ ) และเธอก็ตามเรามาอย่างง่ายดาย ( หลงกล 555+ ) และพี่บ๊วยก็ได้พบกับเธอเป็นครั้งแรก โดยที่พี่บ๊วยถามหนูพรีมว่า "
แบงค์นี่เพื่อนเหรอ" โอ๊ส........... อย่างที่บอก ใครๆก็นึกว่าเธออยู่มหาลัยแล้ว 5555+ จากนั้นเธอก็ได้กลายมาอยู่ในความดูแลของพี่บ๊วยนับแต่นั้นมา ในที่สุดสมาชิกคนแรกก็ได้โดนลากเข้ามาอยู่จนได้
ต่อมา ในเวลาเดียวกัน
พี่หญิง จากทีมออเคสตร้ากรุงเทพ ก็ได้แวะมาหาเพื่อนเก่าเพื่อนแก่อย่าง พี่ปัทของเรา ทั้ง 2 คุยกันอย่างสนิทสนมชิดเชื้อ แต่ทว่าที่ดีกว่านั้นคือ เธอไม่ได้มามือเปล่า เธอมาพร้อม น้องผู้ชายอีกคนที่เธอเจอถือกล่องไวโอลินบนรถเมล์ ย้ำ เธอเจอเขาถือกล่องไวโอลินบนรถเมล์ เธอเลยขอเบอร์ไว้ เเล้วหนีบมาให้เรารู้จัก โอ๊ส เธอช่างกล้ามากๆๆๆๆๆ นับถือๆ แต่ก็นั่นแหละ ทีมของเราก็ได้รู้จัก นนท์ เป็นครั้งแรก นนท์เล่นไวโอลิน ให้เราฟังเพลงแรก "ค้างคาวกินกล้วย" ได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งการ วิบราโต้ (ที่ตอนนั้นเรายังทำไม่ได้) และสารพัดเทคนิคแพรวพราว นายช่าง เหนือมนุษย์มากกกกกกก
แต่เพลงส่วนใหญ่ในตอนนั้นที่นนท์ถนัดเป็นเพลงเเนวเพลงไทย และนนท์ก็บอกเราว่า
ฝึกเองทุกอย่าง ทั้งหมด คนที่ฝึกเองแล้วเล่นได้ยอดเยี่ยมขนาดนี้ ถ้ามีครูดีๆ สงสัยไประดับโลกละเีนี่ย นนท์จึงเข้ามาผูกพันตัวร่วมทุกร่วมสุบกับวงของเราตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่พี่หญิงก็หายไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเหมือนกัน (เธอทำงานอยู่ กทม. ก็เลยยากหน่อยที่จะเจอตัวเธอ ) ..
ตอนนี้รวมๆ กันก็ มีประมาณ 5-6 คนละ ฟังดูเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับวงเครื่องสาย แต่จะว่าไป มีแต่ไวโอลินแฮะ ต่อมา
เจมส์ น้องชายสุดหล่อในทีมสถาบันของเรา ซุ่มไปเรียนเปียโนอยู่หลายปีดีดัก และเขาก็มาเปิดตัวในฐานะ Pianist ที่เรียนกับอาจารย์สาวไฮโซซึ่งเรียนจบด้านเปียโนจากประเทศออสเตรีย (กรี๊ดทีเหอะ ) ครูตั๊ก ก็มาร่วมทีมของเราไปโดยปริยาย ง่ายสุดละ อีกอย่างเพื่อนของเจมส์ ตั้ม หนุ่มแว่น อารมณ์ติสม์(เข้าสิง) ก็เข้ามาร่วมทีมในฐานะนักร้องคอรัสฝึกหัดอีกต่างหาก

นี่คือภาพแรกๆของทีม ก็มี ไวโอลิน 5 เปียโน 1 คอรัส 1 ซึ่ง มันคงเป็นทีมที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าไร เพราะถ้าจะทำวงเครื่องสายแชมเบอร์ก็ต้องมีเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆเพิ่มอีก จึงมีการปรากฏกายของเธอขึ้นมาอีกคน นั่นคือ

น้องนุ้ย สาวน้อย พาณิชยการธนบุรี(มั้ง) จริงๆแล้วเธออยู่ในโบสถ์เรานานละล่ะ แต่เธอมีภาระใจอยากร่วมวงด้วย เธอก็เลยมาประจำตำแน่ง วิโอล่า ซินเดอเรลล่าแแห่งวงเครื่องสายซะเลย เธอได้เข้าไปร่วมเล่นที่วงใหญ่กรุงเทพมาแล้วนะจะบอกให้ จึงถือเป็นหนึ่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของเราเลยก็ว่าได้ แต่พักหลังๆ เธอเรียนหนักมาก ได้ข่าวว่าตอนนี้เรียน ปวส. อยู่ เรื่องดนตรีเธอเลยห่างๆไป น่าเสียดายเนอะ ต้องทำ Part-time ด้วยได้ข่าวมาอะนะ

เอ็ม เพื่อนเจมส์(อีกคน)ก็เข้ามาร่วมวง หลังจากที่ดูหนังจอเงิน Season Change ได้ไม่นาน อารัมภบทมากมายเชียวล่ะ ว่าอยากเล่นไวโอลิน ม๊ากกกกกกกกก มาก ขอร้องให้หนุ่มหล่อมากฝีมืออย่างเราช่วยสอนให้ที ลหังจากเรียนและซ้อมอยู่นาน เขาก็ได้เข้ามาร่วมวงกับ HananYm ในฐานะ มือไวโอลิน คนหนึ่งเช่นกัน( 1 ในลูกศิษย์สุดรักสุดหวง)

แต่ก็อีก มีวิโอล่า ก็ขาด เชลโล่ ไม่ได้ พี่ใหญ่แห่งตระกูลเครื่องสาย ด้วยความเสียสละของพี่บ๊วยในฐานะหัวหน้าวงและหัวหน้าทีมสถาบัน เธอจึงนำคอมตัวเก่าของที่บ้านไปขาย เพื่อมาซื้อ
เชลโล่ ให้กับทีม โดยที่ กระผมยอมเสียสละ ไปเล่นเชลโล่ แทน ( ซึ่งนำการเปลี่ยนแปลงมหาศาลมาแก่ชีวิตของกระผมเอง ) ซึ่งกระผมก็ต้องออกเงินค่าเรียนเชลโล่ด้วยนั่นเอง โดยย้ายจากเรียนที่เดิมไปเรียนที่ Dr.Sax หรือ โรงเรียนเตรียมมหิดลดนตรี นั่นเอง เอิี๊๊กๆๆ เพราะเจ้าเชลโล่สีแดงตัวนี้ กระผมจึงได้เข้าไปเล่นกับวง Hope Philharmonic Orchestra วงออเคสตร้าชื่อดังของไทยซึ่งได้เคยเล่นรวมกับวง New York Philharmonic Orchestra มาแล้ว โอ๊สสสสสส .....

หลังจากที่ซุ่มซ้อมกันมาอย่างดี ทั้งไปเล่นรวมทีมกับ ทาง กทม. วงของเราก็ได้ ประกาศศักดินา ครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2005 โดยการเล่นแชมเบอร์ ในงานต้อนรับผู้นำคริสตจักร โดยมีอาจารย์ PN เป็นประธานด้วย ว้าว ... ฮานานีมเจ๋งมาก เราบรรเลงด้วย
Canon in D โดยมีเสียง Pizzicato อันเกิดจากเชลโล่ (กระผมดีดเอง 555+ ) ทำเอาห้องประชุมหยุดกึก แล้วหันมามองเป็นสายตาเดียวกัน "น่าประทับใจมาก" ประโยคสั้นๆ แต่กลับทำให้เรารู้สึกปลื้มใจอันเป็นที่สุด

เท่านั้นยังไม่พอ พวกเราก็ยังได้บรรเลงเพลงทั้งในคอนเสิร์ตนมัสการบ้าง และในงานแต่งงานของพี่น้องบ้าง ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ทำเอาชื่อฮานานีมมีแต่คนอยากจะเจอ ... ดังเลยเนอะ

สมาชิกทีมยังไม่หยุดแค่นั้น

โฮป ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของศิษยาภิบาลโบสถ์เรา จับทรัมเป็ตสีทองอร่าม มาร่วม
จอยดนตรี ให้เกิดเสียงประสานอันน่าหลงใหลไปด้วย ไม่น่าเชื่อว่าตัวแค่นี้จะเล่นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ลมได้นะเนี่ย ... เคยแข่งวงโยธวาธิตระดับประเทศมาแล้วด้วย
เมื่อก่อน โฮปเนี่ย ตัวเล็กมากๆๆๆๆ แต่เดี๋ยวนี้ตัวสูงพอๆกะเราเลย เปลี่ยนช่วงวัย เอิ๊กๆ

พี่กุล ครูระวีคริสตจักรเด็ก ไม่รู้โผล่มาจากไหน รู้ตัวอีกที เจ๊ก็มาเล่นดนตรีกะเราแล้ว 555+ เจ๊เค้าประจำตำแหน่งไวโอลิน ... ดูเผินๆ เจ๊เค้าจะอยู่กะกลุ่มสถาบันได้ เพราะ เจ๊แก หุ่น เล็กๆ เหมือนเด็ก ม. ต้น เอิ๊กๆๆๆ

เบลล์ อันนี้น้องสาวกระผม หลังจากอิดออดมากว่า 5-6 ปีที่ข้าพเจ้าเล่นดนตรีมา และคะยั้นคะยอให้เธอจับเครื่องสาย เธอก็ได้ฤกษ์ ในการคว้า วิโอล่าขึ้นมาเหน็บคอ เพื่อจะบรรเลงเพลงให้โลกได้ยินบ้าง

โอลีฟ .. สาวน้อยอารมณ์ดี แม้เธอจะยังใหม่เรื่องเชลโล่ แต่ในภายภาคหน้าเธอจะเป็น Jaqueline Dupré คนต่อไป ด้วยฝีมือการสอนของกระผมเอง

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงก็คือ การโยน
ไม้บาตองจากมือพี่บ๊วย มาสู่มือของกระผมนั่นเอง เนื่องจากเมื่อกุมภาพันธ์ปีก่อน พี่บ๊วยได้เปลี่ยนนามสกุลจากนามสกุลเดิมไปใช้นามสกุลใหม่ เธอจึงเปลี่ยนสถานะจาก ผู้ดูแลสถาบัน เป็น สมาชิกกลุ่มครอบครัว กระผม ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในกลุ่มเด็กนักเรียนจึงคว้าไม้บาตองนั้นไว้ในมือด้วยความยินดี พร้อมกับ เรียนรู้ด้านการคอนดักต์ วงเครื่องสายมากขึ้น
จากเด็กน้อยด้อยค่า กลายเป็น นักไวโอลิน ผันตัวเป็น นักเชลโล จนมาเป็นคอนดักเตอร์ แม้จะเป็นวงแชมเบอร์เล็กๆที่มีสมาชิก 10 กว่าคน แต่ว่า พวกเราก็เต็มที่กับสิ่งที่พระเจ้าให้กับเรามา เต็มที่กับการบรรเลงบทเพลงเพื่อเยียวยาจิตใจผู้อื่นภายใต้การนำของคอนดักเตอร์สุดหล่อคนนี้เอง

ทุกคนมีศัยภาพในตัวเองทั้งหมด ทุกคนหากแต่ว่าเมื่อไรกันหนอที่เราจะดึงเอาศักยภาพนั้นออกมาจากตัวเราเองแล้ว บอกให้โลกรู้ว่า ความตั้งใจนั้นมีจริง+++ ที่สำคัญต้อง
ขอบคุณพระเจ้าที่ทำให้เราได้มารวมตัวกันแบบนี้ด้วย

นี่แหละครับ ที่มาของฮานานีม เดอะ แชมเบอร์ ปลายปี 2009 นี้ ฮานานีมจะมารวมตัวกันอีกครั้ง ในชื่อว่า
HananYm El Armonico de Sonido สัมพันธภาพแห่งคีตกาล !!!! เป็น Theme หลักสำหรับคริสต์มาสปีนี้ครับ !!!!




ดังนั้น ตั้งแต่นี้ไป บล็อกนี้จะเป็นบล็อกของพวกเรา ชาว HananYm ซึ่งเรารับความคิดเห็นจากทั้งคนในและผู้สนใจครับ ที่นี่จะเป็นบล็อกแจ้งข่าวของชาวเราและความเป็นไปของชาว ฮานานีม อิอิอิอิ +++++
GBU