วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องความอดทนของการเรียนดนตรี

ว่าด้วยเรื่องความอดทนของการเรียนดนตรี

ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของเราเป็นอย่างมาก อย่างในพระคัมภีร์ โรม บทที่ 5 : 3
ก็ได้เขียนไว้ว่า "ยิ่งกว่านั้นเรา{หรือให้เรา}ชื่นชมยินดีในความทุกข์ยากของเราด้วยเพราะเรารู้ว่าความทุกข์ยากนั้นทำให้เกิดความอดทน.." พระเจ้ายังได้สอนเราในเรื่องความอดทนไว้มากมายผ่านพระคำของพระองค์

เช่นกัน ในการทำทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัว เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ไม่ว่าสิ่งต่างๆเล็กๆน้อยๆรอบตัว เราก็ใช้ความอดทน อย่างเช่นเวลาเราไปเข้าร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น คนรอคิวจ่ายเงินมาก เราก็ต้องรอคอยที่จะจ่ายเงิน เพื่อให้ได้มาซึ่งของที่เราจะซื้อ นี่ก็เป็นเรื่องเริ่มต้นที่พวกเราต้องเจอทุกวัน ไปข้างนอก ก็ต้องรอรถเมล์ ใช้ความอดทนอีกนั่นแหละ จะกินข้าวที่ร้านก็ต้องอดทนรอ พ่อครัวทำอาหารเสร็จ พร้อมเสิร์ฟอีก จะเห็นว่าจริงๆ เราใช้ความอดทนอดกลั้นทุกวัน แม้ว่าบางเรื่องจะไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่เราก็ได้เริ่มฝึกความอดทนมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

การเรียนดนตรีก็เช่นกัน จากที่กระผมได้สอนดนตรีที่โรงเรียนดนตรีสานเสียง ในเครือบริษัท เจ. คีตา ซึ่งโรงเรียนดนตรีแห่งนี้ถือได้ว่าดีที่สุดในจังหวัดสมุทรสาครเลยก็ว่าได้ โดยมี พี่ตั๊ก นักเปียโนฝีมือเยี่ยม เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาเปียโน และเธอก็ไปต่อปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยดนตรีที่ประเทศออสเตรีย จากนั้นเธอก็กลับมาเมืองไทยรวบรวมสมัครพรรคพวกจาก วิทยาลัยดนตรีมหิดลมาเปิดโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นมา ซึ่ง ณ ที่แห่งนี้เอง กระผมก็ได้เข้ามาร่วมงานกับพี่ตั๊กและได้เดินทางมาสู่การสอนวิชา เครื่องสายแบบเต็มตัวก็ว่าได้ ( ไว้วันหลังจะเล่าเหตุการณ์ตอนที่มาเล่นดนตรีกับพี่ตั๊กได้ยังไง )

กระผมสอนดนตรีที่นี่ตั้งแต่เช้ายันค่ำ ได้จับไวโอลินมาแล้วหลายสิบตัว และก็ได้เจอเด็กที่ต้องสอนมาแล้วหลายสิบคน ซึ่งบ้างก็ยังคงศึกษาต่อ บ้างก็เลิกเรียนไปแล้วก็มี บ้างได้ดิบได้ดี ไปเรียนต่อวิทยาลัยดนตรีมหิดลแล้วก็มี แต่สิ่งที่สำคัญของการทำให้เด็กสามารถเรียนรู้การเล่นดนตรีที่ดีนั้นคืออะไร?

การเรียนดนตรีจำต้องอาศัยความอดทนมาก เพราะว่าเป็นการเรียนแบบบูรณาการมากๆๆๆๆๆ ปกติเวลาเราเรียนในห้องเรียนก็มีแค่อาจารย์พูดๆๆๆๆๆๆ แล้วเราก็ฟัง จด พยายามเข้าใจ แต่การเรียนดนตรีนั้นใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าที่เราจะทำได้ ไม่ว่าจะเป็น

1.ประสาทหู ใช้ฟังเสียงของตัวโน้ตว่าเพี้ยนหรือไม่อย่างไร ไม่เพียงเท่าันั้น ต้องพยายามฟังอาจารย์และพยายามเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์แนะนำแล้วปฏิบัติตาม อีกทั้งยังต้องคอยฟังเจ้า Metronome หรือเครื่องจับจังหวะที่ดัง ติ๊ก ต่อก ตี๊ก ต่อก เหมือนเครื่องสะกดจิตให้เล่นไม่หลุดจังหวะอีกด้วย

2.ประสาทสัมผัส ประสาทสัมผัสที่ว่านี้ก็คือ การใช้นิ้วมือ ในการกดไปยังสายต่างๆ และยังต้องใช้ในการควบคุมมือซ้ายมือขวาให้ถูกต้อง เพราะเวลาเล่นไวโอลิน การจับตัวเครื่อง ท่ายืน การจับคันชักถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ห้ามมองข้ามเด็ดขาด มีนักเรียนหลายคนที่เรียนจากที่อื่นมาแบบผิดๆ เพราะเดี๋ยวนี้ โรงเรียนดนตรีหลายแห่งหาอาจารย์สอนแบบว่า แค่่พอสีเป็นเพลงได้มาสอนนักเรียน ไม่ใช่คนที่เรียนโดยตรง ทำให้นักเรียนที่มาเรียนนั้นอาจจะไม่ได้รับการสอนมาอย่างถูกต้องที่สุด และก่อให้เกิดผลเสียตามมานั่นคือ Posture หรือท่าทางในการเล่นนั้นไม่ถูกต้อง และภายภาคหน้าเมื่อเด็กชินกับการเล่นแบบนั้นก็จะแก้ยาก และกระผมก็แสนจะเหนื่อยในการแก้ท่าทางเด็กเหล่านี้มากๆๆๆๆๆ ผมยินดีที่จะสอนเด็กที่ไม่รู้อะไรเลยมากกว่าจะไปต่อยอดจากอาจารย์คนอื่น เพราะผมไม่รู้ว่าอาจารย์ท่านนั้นเรียนด้านไวโอลินมาโดยตรงหรือเปล่า หรือว่าสอนไวโอลินมาอย่างเข้าใจดีหรือเปล่า และเมื่อผมรับเด็กคนนั้นมาสอนแล้ว ก็จะเกิดปัญหาที่แก้ยาก แล้วเด็กก็จะเครียดๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ว่าทำไมจับแบบนี้ไม่ได้ ผิดอีกแล้ว เพราะเด็กเขาชินกับการจับแบบนั้นเสียแล้วนั่นเอง โดยส่วนตัวเรียนเรื่องการจัดท่าทางแบบเยอรมันมา ( ตอนเรียนดนตรี มีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาจารย์เป็นคนเยอรมันมาเทรนให้แบบหนักมาก ทั้งชั่วโมง เอาแต่จับโบว์ สีสายเปล่า ทั้งๆที่เราเล่นเพลงไปได้ถึงไหนต่อไหนละ -*- แต่ก็ต้องขอบคุณอาจารย์ท่านมากเพราะเราก็ได้พื้นฐานที่ถูกต้องจริงๆติดตัว รู้สึกว่าแกเป็น Concert Master ของวง Berlin Philharmonic ด้วยรึเปล่าไม่แน่ใจ ) แล้วเด็กบางคนก็เรียนมาแบบผิดจริงๆ จนไม่แก้ไม่ได้แล้ว ต่อไปจะเล่นได้ยากเพราะยิ่งเพลงที่เล่นยากๆ การจับโบว์เนี่ยแหละ จะชี้เลยว่าจะเล่นได้ดีหรือไม่

3.ประสาทตา ตาที่ว่าคือการมองโน้ต Sight Reading ก็เป็นสิ่งจำเป็นมากในการอ่านตัวโน้ตเพราะว่าถ้าหาก เราอ่านโน้ตไม่ได้ อ่านโน้ตไม่คล่องก็จะเกิดปัญ
หาตามมา ก็คือการฝึกซ้อมที่บ้านก็จะติดๆขัดๆ เพราะอ่านโน้ตไม่คล่อง พออ่านโน้ตไม่คล่อง เล่นไม่ได้ บางทีก็พาลเอาไม่อยากซ้อมเสียดื้อๆ ก็มี อีกอย่าง ก็ต้องคอยดูว่า เวลาเราใช้คันชักสีที่ตัวไวโอลินน่ะ อยู่ในช่องระหว่างตัวหย่อง( Bridge )กับสะพานนิ้ว ( Finger Board )หรือเปล่าด้วย

4.วินัยและความอดทน ถือเป็นประสาทพิเศษเพราะว่า ถ้าเราขาดวินัยในการซ้อมแล้วล่ะก็ การจะเล่นได้ดีขึ้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว ความอดทนต่อสิ่งที่เราทำนั้นก็จำเป็น เด็กบางคนเบื่อเพลงที่ตัวเองเล่นมากแต่เจ้าตัวยังเล่นไม่ได้ดี ควบคุมเสียงไม่ได้ ถ้าบางทีปล่อยทิ้งไว้แล้วเปลี่ยนเพลงใหม่ไป ปัญหาเดิมๆก็ยังคงตามมาอยู่ดี ดังนั้นยังไงๆ ก็ต้องพยายามซ้อมให้ตนเองสามารถบรรเลงเพลงนั้นออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

บางคนอาจถามว่า อ้าว ทำไมเล่นดนตรีดูเหมือน มันไม่สนุกเลย มีแต่เรื่องนู่นนี่ ข้อบังคับสารพั
ดเลย เล่นดนตรี น่าจะสนุกนี่นา เพราะเราใช้คำว่า "เล่น" คำว่าเล่นก็มักจะใช้กับเรื่องที่สนุกๆนี่นา อย่าง "เล่น"กีฬา "เล่น"กับเพื่อน "เล่น"เกมส์ ฯลฯ แต่สำหรับการเล่นนั้น ถ้าเราสังเกตดูดีๆแล้ว ถ้าเราจะเล่นให้สนุกได้ เราก็จำต้องมี ทักษะ มาประกอบด้วย ถ้าเรา"เล่น"บาสเกตบอล แต่เราไม่มีทักษะเลย แพ้ตลอด ก็ไม่ค่อยสนุกเท่าไร แถมเจ็บใจอีกต่างหาก ถ้าเรา"เล่น"เกมส์ แต่แพ้ตลอด ตามเรื่องไม่ทัน คนเล่นก็เหนื่อยหน่าย แพ้อีกแล้วๆๆ จะเห็นว่า ถ้าอยากเล่นให้ดี ให้สนุกก็ต้องมี "ทักษะ" เนี่ยแหละมาช่วย แล้วกว่าจะได้ ทักษะ มาครอบครองก็ต้องผ่านการซ้อม ๆ ๆ ๆ ๆ ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อข้างต้นที่กล่าวไปแล้ว

โดยส่วนตัวกระผมนั้น ก
ว่าจะได้เจ้าทักษะมาครอบครองก็ใช้เวลาร่วม 4-5 ปีทีเดียว กว่าจะเข้าใจว่า ต้องทำอย่างไร นับตั้งแต่วันที่เริ่มจับคันชักและตัวซอ(ฝรั่ง) จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้เลิกเล่น ยังมีการซ้อมและการหมั่นฟังเพลงคลาสสิคอยู่ตลอด อีกทั้งจากประสบการณ์การสอน ถ้าเด็กคนไหน ทำได้อย่างที่บอกไป ก็จะเล่นได้ดีและสนุกไปกับการเล่นทุกคน ยิ่งเล่นยิ่งสนุก นักเรียนสนุก อาจารย์ก็สนุกไปด้วย ยังจำได้ตอนสมัยเรียนดนตรี อาจารย์ก็ชอบบอกว่า "ทำไมเวลาสอนเรา เวลามันเดินไวชะมัดเลย" แสดงว่า อาจารย์เค้าก็สนุกเวลาสอนเรา นักเรียนก็จะรักการเรียนไปด้วยและที่สำคัญ ไม่มีใครที่เก่งมาตั้งแต่เกิดต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนเท่านั้นแหละถึงจะได้มาซึ่ง "ทักษะ"

ตอนสอนดนตรีที่นั่น ก็อยากบอกเล
ยครับว่า เหนื่อยมาก เพราะเราไม่ใช่แค่สอน แต่เหมือนเป็นพี่เลี้ยงเด็กไปด้วย โดยส่วนตัวไม่ใช่คนรังเกียจเด็กนะครับ แต่เด็กทุกคนเค้ามีเอกลักษณ์ของตัวเอง และเราก็ต้องพยายามเข้าใจเขาให้ได้เพื่อที่เขาจะได้เรียนดนตรีอย่างมีความสุขนั่นเองซึ่งการพยายามเข้าใจเขาเนี่ยล่ะครับที่แสนจะเหนื่อย ไม่เหมือนเวลาเราสอนผู้ใหญ่ เราสอนเชิงทฤษฎีได้ สอนเป็นตรรกะได้ แต่ถ้าสอนเด็กเล็กๆ บางคนเขาจะเข้าใจยาก แต่เราก็ต้องพยายามอธิบายให้เขาเข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับมาจากการสอนดนตรีให้เด็ก ( ที่ผมสอนมีตั้งแต่ อยู่ ป.1 ไปยัน ผู้ใหญ่เลย - 30 กว่าก็เคยสอนมาแล้ว -*-) เด็กทุกคนมีศักยภาพและความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเขา เพียงเราเปิดโอกาสให้พวกเขาได้บอกความเป็นตัวเอง ให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งรอบตัวที่อาจจะเป็นความสามารถของเขาได้ ไม่ว่าจะด้านไหนๆ ก็พัฒนาพวกเขาได้

ไว้คราวหลังจะมาเล่าเรื่องที่ไปสอนดนตรีที่นี่ใหม่ คราวนี้ดูวิชาการไปหน่อย แต่คราวหน้ามาอ่านอะไรฮาๆ มั่งดีกว่าเนอะ อิอิ

ปล. อย่าลืม ซ้อม ๆ ๆ ๆ ๆ และก็ ซ้อมล่ะ น้องๆ เอ๋ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น